สาระสำคัญสมรสเท่าเทียมได้สิทธิอะไรบ้าง
อัพเดทล่าสุด: 15 พ.ย. 2024
208 ผู้เข้าชม
สาระสำคัญสมรสเท่าเทียมได้สิทธิอะไรบ้าง
Wedding in Thai ขอแสดงความยินดีกับ LGBTQIAN+ ที่ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ได้ผ่านความเห็นชอบในที่ประชุมรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรามาทำความเข้าใจว่า LGBTQIAN+ (รู้จัก LGBTQIAN+ คลิก) จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
- บุคคลไม่ว่าจะมีเพศสภาพ หรือมีอัตลักษณ์ทางเพศอย่างไร เมื่อจดทะเบียนสมรสกันก็ถือเป็น คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
- คู่สมรส จะไม่จำกัดเฉพาะชาย-หญิงเท่านั้น แต่ครอบคลุมทุกเพศสภาพ
- การใช้ถ้อยคำที่เป็นกลางทางเพศมากขึ้น เช่น สามี-ภรรยา ปรับเป็น คู่สมรส, ชาย-หญิง ปรับเป็น บุคคล, บิดา-มารดา ปรับเป็น บุพการี
- ปรับอายุขั้นต่ำของบุคคล ในการจดทะเบียนสมรส จากเดิม 17 ปี ขึ้นเป็น 18 ปี เพื่อสอดคล้องกับอนุสัญญาสิทธิเด็ก (หากอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ยังต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม)
- การฟ้องหย่าในกรณีที่มีชู้เป็นเพศเดียวกัน สามารถทำได้แล้ว
- ทุกบุคคลจะได้รับความเท่าเทียม และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- มีสิทธิในการหมั้น
- สิทธิจดทะเบียนสมรส
- สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส
- สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับสามี-ภรรยา
- สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ และให้บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลคู่สมรสได้ โดยจะต้องมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี พร้อมรับรองถึงกฎหมาย หรือระเบียบ ข้อบังคับ
- สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต
- สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
- สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
- สิทธิจัดการศพ
- สิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม, สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
บทความที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายสมรสเท่าเทียมในไทย มีผลใช้บังคับ 22 ม.ค. 68เผยแพร่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม
3 ธ.ค. 2024
เอกสารพร้อม ความรักเต็มเปี่ยม มาดูกันว่า ต้องเตรียมอะไบ้าง เพื่อให้ทุกขั้นตอนราบรื่น
15 พ.ย. 2024
Wedding in Thai จะพามาทำความเข้าใจก่อนว่า สมรสเท่าเทียม คืออะไร และมีเพศอะไรบ้างในความหมายของความเท่าเทียมนี้
15 พ.ย. 2024