ผ่านแล้วกฎหมายสมรสเท่าเทียมในไทย คาดมีผลปลายปีนี้ 2024
ผ่านแล้วกฎหมายสมรสเท่าเทียมในไทย คาดมีผลปลายปีนี้ 2567
ก่อนอื่น Wedding in Thai จะพามาทำความเข้าใจก่อนว่า สมรสเท่าเทียม คืออะไร และมีเพศอะไรบ้างในความหมายของความเท่าเทียมนี้
เราอาจเคยได้ยินคำว่า LGBTQIAN+ คือความหลากหลายทางเพศแล้วย่อมาจากอะไรบ้างล่ะ
L - Lesbian ผู้หญิงรักผู้หญิง
G - Gay ชายรักชาย
B - Bisexual รักได้ทั้งผู้ชายผู้หญิง
T - Transgender ข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือ จากเพศหญิงเป็นเพศชาย
Q - Queer คนที่พอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดเรื่องเพศและความรัก
I - Intersex บุคคลที่เกิดมาพร้อมกับอวัยวะเพศ หรือระบบสืบพันธุ์ที่ไม่ตรงกับหมวดหมู่เพศชายหรือหญิงทั่วไป
A - Asexual บุคคลที่ไม่ฝักใจทางเพศ คือผู้ที่ไม่มีความสนใจหรือความรู้สึกรักทางเพศ
N -Non-Binary บุคคลที่ไม่คิดว่าตัวเอง เป็นเพศชายหรือเพศหญิง
และแบบดั้งเดิมคือ หญิง Feminine และ ชาย Masculine
คำว่าสมรสเท่าเทียม คือ การสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่จำกัดเฉพาะผู้ชายและผู้หญิงเท่านั้น แต่สามารถสมรสได้ทั้งหมดทุกเพศภาพ ทั้งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
โดยจะก่อให้เกิดสิทธิในการหมั้น การจดทะเบียนสมรส การจัดการรัพย์สินของคู่สมรส การเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับคู่สมรส
การรับมรดกเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิต การรับบุตรบุญธรรม การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น การรับประโยชน์ทตแทนจากประกันสังคม และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ทางกฎหมายที่รับรองสิทธิของคู่สมรส
ซึ่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ปลายปีนี้ 2567
กฎหมายนี้สร้างความยินดี และปราบปลื้มใจให้กับทุกคน โดยไม่แบ่งแยกตามเพศสภาพ แต่มีฐานะเท่ากันตามกฎหมาย
ขอบคุณข้อมูลจาก หอสมุดรัฐสภา
Home